วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสอนแบบศูนย์การเรียนและการสอนแบบฐาน

การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
......ศูนย์การเรียน (Learning Center) เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4 – 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม และแบ่งผู้เรียนตามศูนย์กิจกรรม กลุ่มละ 4 – 6 คน หมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่าง ๆ แห่งละ 15 – 20 นาที จนครบทุกศูนย์ โดยใช้สื่อประสม (Multi Media) และกระบวนการกลุ่ม
...... ศูนย์การเรียน (Learning Center) เป็นกระบวนการเรียนที่บูรณาการระหว่างการใช้สื่อประสมกับกระบวนการกลุ่ม เน้นกิจกรรมเพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนเอง ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยอาศัยสื่อการสอนแบบประสมและหลักการของกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เข้าช่วยในการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการเรียนตามเอกัตภาพอีกด้วยส่วนประกอบของศูนย์การเรียน คู่มือครู แบบฝึกหัดปฏิบัติสำหรับผู้เรียน สื่อสำหรับศูนย์กิจกรรม แบบทดสอบสำหรับการประเมินผล ขั้นตอนการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน
............ 1. การทดสอบก่อนเรียน
............ 2. การนำเข้าสู่บทเรียน
............ 3. การประกอบกิจกรรมการเรียน แบ่งผู้เรียน กลุ่มละ 4 – 6 คน เรียกว่าศูนย์กิจกรรม
............4. แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน
............5. แต่ละศูนย์กิจกรรมกำหนดเวลาให้ใช้ประมาณ 15-20 นาที
............6. เมื่อนักเรียนทุกศูนย์ประกอบกิจกรรมเสร็จแล้วจะมีการเปลี่ยนศูนย์กิจกรรม จนกระทั่งครบทุกศูนย์จึงจะถือว่าเรียนเนื้อหาในแต่ละหน่วยครบตามกำหนด
............7. ครูทำหน้าที่ประสานงานการสอน คอยดูแลและกระตุ้นการเรียนการสอนนักเรียนแต่ละคน

ผลที่ได้รับ

การใช้วิธีสอนแบบศูนย์การเรียนนอกจากจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีปกติแล้ว ยังทำให้เกิดผลต่อการพัฒนากระบวนการกลุ่มด้วย (กรมวิชาการ. 2533 : 80)
การสอนแบบฐาน
......วิธีการสอนแบบฐานนี้เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน(วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมายของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2537:57)
ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่าเหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่เพราะการสอนแบบนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงย่อย ๆ ได้ และอาจต้องใช้วิธีสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย
วิธีการ
............1. จัดแบ่งหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ
............2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดีลักษณะฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
............3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน จัดหมุนเวียนให้เป็นระบบเพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน
............4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำรวมเป็นกลุ่มใหญ่โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้

ข้อดีและข้อจำกัด
............1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป้นกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น
............2. ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดดีกว่ากลุ่มใหญ่
............3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
............4. คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบหมายงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
............5. คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกันและเป็นรายบุคคล
............6. เนื้อหาวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมงานเป้นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
............1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อม และชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
............2. วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง
............3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
............4. การดำเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรม ด้วยวิธีการสอนที่ดี ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
............5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กันแนวการสอนแบบฐานนี้อาจนำไปใช้กับผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2 -3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผล ได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น