วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเรียนการสอนด้วยวิธีสตอริไลน์ ( Storyline method)


การเรียนการสอนด้วยวิธีสตอริไลน์ ( Storyline method)

....... การเรียนการสอนที่ผ่านมาในอดีต มักจะเป็นการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher - centered) ครูมีบทบาอย่างมากที่จะพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของคนให้เป็นคนดี มีสุขภาพพลานามัยที่ดี วิธีการสอนแบบเดิมมักจะเป็นการบรรยาย หรือการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ฟัง ครูจะเป็นผู้นำเสนอแต่เพียงผู้เดียวแต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสารสนเทศ อันเป็นยุคที่ชาติต้องเผชิญกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องมีการเตรียมลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ มีการจัดสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาใหม่มาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child - centered) มีนวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจวิธีหนึ่งที่สามารถฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริงใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารญาณ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจการแก้ปัญหา ตลอดจนการริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการใช้หลักการบรูณาการ วิธีนี้เป็นผลจากการค้นพบของ สตีฟ เบลล์ (Steve Bell) นักการศึกษาชาวสก็อต เรียกว่า การเรียนการสอนที่เน้นสตอริไลน์ (Storyline approach) และยังเรียกว่า วิธีสตอริไลน์ (Storyline method) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์หรือเรียกว่ากำหนดเส้นทางการเดินทางเดินเรื่อง (topic line) และใช้คำถามหลัก (key question) เป็นตัวนำสู่การให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง องค์ประกอบสำคัญของวิธิสตอริไลน์มีอยู่ 4


องค์ประกอบ คือ

1. ฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2. ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3. วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ในการศึกษา
4. ปัญหาที่ให้ผู้เรียนฝึกแก้ไข
.......วิธีสตอริไลน์เป็นแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ มีลักษณะเฉพาะคือ การผูกเป็นเรื่องราวหรือมีเส้นทางเดินเรื่อง แบ่งเรื่องราวออกเป็นฉากและเรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เรียนตามสภาพจริงสามารถถ่ายโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ให้อิสระกับผู้เรียนและมีความสุขกับการได้แสดงออก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สามารถขยายความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข้อคิดที่ได้จากการอ่านบทความนี้คือรูปแบบและวิธีการสอนที่น่าสนใจและแตกต่างจากรูปแบบเดิมๆที่เคยพบมา และเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของเด็กเองและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น