วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสอนภาษาอังกฤษเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์

การสอนภาษาอังกฤษเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ
......หลังจากบทความนี้เผยแพร่สู่สายตาสมาชิก “วิทยาจารย์” หลายท่านได้โทรศัพท์ ถึงครูแจ๋ เชิญครูแจ๋ไป อบรมครูสอนภาษา อังกฤษให้ที่ลำพูน พิษณุโลก ฉะเชิงเทรา และโรงเรียนวัดพิกุลเงิน กรุงเทพมหานคร เดือนนี้คงต้องเดินสายสอนหนังสือไม่ได้ หยุดหย่อน แต่ความที่เป็นคนแจ๋เลย ชอบมาก ๆ และจะขอแจ้งข่าวดีให้ ครูสอนภาษา อังกฤษทั่วประเทศทราบว่า กระทรวงศึกษาธิการ ต้องการที่จะพัฒนาครูสอนภาษาอังกฤษ ให้ได้ มาตรฐาน จึงตั้งงบประมาณให้มีการอบรมและ การทดสอบระดับความรู้และการสอน ของครูภาษาอังกฤษ ทั่วประเทศสำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนดี จะได้รับการสนับสนุนให้สอบ เพื่อรับรองมาตรฐาน การสอนซึ่งเรียกว่า TKT (Teaching Knowledge Test) จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ซึ่งทดสอบรุ่นแรกไปแล้ว เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปี 2550 ผู้ที่สอบผ่าน จะได้ใบรับรองมาตรฐาน คงจะสร้างความภูมิใจให้กับแวดวงครูผู้สอนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะครู ผู้สอนภาษาอังกฤษ คุณภาพการสอน และรางวัลแห่งการพูดถึงเนื้อหาของข้อสอบ TKT จะวัดทั้งความรู้ของครูผู้สอน และเทคนิคการสอนแนวใหม่ ผู้สอบเอาใบรับรองมาตรฐานจะต้องเป็น ผู้มีความรู้ในภาษา อังกฤษเป็นอย่างดี ส่วนวิธีสอนนั้นจะเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ คือ จะไม่เน้นการจำ ไม่เน้นการท่องศัพท์ แต่จะเน้นให้ เด็กคิดและหาคำตอบจากเหตุผล “กระบวนการคิดวิเคราะห์นี่เอง ที่เป็นปัญหาโลกแตกของครูไทยในการสอนทุกสาขาวิชา จนต้องมีการ ปฏิรูปการศึกษา เพราะผลผลิตของเราคือเยาวชน โดยทั่วไปคิดไม่เป็น แก้ปัญหาไม่เป็น ไม่ทันเกม ไม่ทันชีวิต ไม่ทันโลก ทำให้ประเทศ ของเรากลายเป็นประเทศที่อ่อนเปลี้ย เสียขา คนขาดเหตุผล ขาดไหวพริบ แข่งขันกับโลกภายนอกได้ยากมาก” ฉะนั้นครูแจ๋ จึงจะเริ่มแนะนำ ผู้อ่านทั่วไปในแวดวงการศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ากระบวนการคิดวิเคราะห์คืออะไร ดีอย่างไร และจะสอนอย่างไร



......คำว่า กระบวนการคิดวิเคราะห์ คือ กระบวนการทางความคิดที่สั่งสมให้คนคิดได้อย่าง มีระบบ และมีเหตุผล เข้าใจต้นเหตุของปรากฏการณ์ในชีวิตและผลกระทบที่จะได้รับตามหลัก วิทยาศาสตร์ อย่างลึกซึ้ง ประมวลจากข้อเท็จจริงอย่างมีระบบ ไม่คิดอย่างหลวม ๆ หรือคาดคะเน หรือขาดการ หยั่งรู้ ที่พูดโดยทั่วไปว่าไม่ได้เจตนาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ถ้าประเทศใดประกอบ ด้วยคนของชาติที่มีเหตุผลและเป็นระบบ ประเทศนั้นก็พัฒนาเร็ว ในทางตรงกัน ข้าม ถ้าคนภายในชาติ ใด ลุ่มหลงเมามัว ขาดเหตุผลไม่ใช้ไหวพริบ หรือวิจารณญาณในการ ใช้ชีวิต ประเทศนั้นก็จะพัฒนา ไปได้อย่างเชื่องช้า เพราะคนส่วนใหญ่ คิดไม่ถึง และคิดไม่เป็น พลอยทำให้ประเทศชาติเต็มไป ด้วยปัญหาสะสมพอกพูน ความดีของกระบวนการคิดคือ ทำให้คนในชาติริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นนักคิดค้น ไม่ชอบลอกเลียนแบบใคร มีศักดิ์ศรี และใช้ชีวิต อย่างมีเหตุผล ประหยัด และรู้จัก พอเพียงกระบวนการคิดต้องเริ่มสอนตั้งแต่เด็ก ๆ ทั้งทางบ้านและโรงเรียน ต้องสอนตรงกัน ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
..........ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนเรียนจากการวิเคราะห์ หรือ แยกแยะ เช่น ครูทำเสียงแมว ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ว่าเป็นแมว ครูทำเสียงสุนัข ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าเป็นสุนัข แทนที่จะจำศัพท์หรือท่องศัพท์ กลับเป็นการวิเคราะห์เสียงของสัตว์ เป็นการฝึกให้นักเรียนคิด และแยกแยะ ขณะเดียวกันก็จะจำศัพท์ได้โดยอัตโนมัติ (แต่ครูต้องเหนื่อยหน่อยที่ต้องทำเสียงสัตว์ ครูขี้เกียจจึงเป็นครูแผนใหม่ยาก)
..........ขั้นตอนที่ 2 คือ การสังเคราะห์หรือสร้างสรรค์ โดยให้นักเรียนวาดรูปแมว และสุนัข และเขียนภาษาอังกฤษใต้รูปเหล่านั้น หรืออาจจะ ร้องเพลงเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง Cat and Dog ที่ครูแต่งขึ้น ขั้นตอนที่ 2 นี้ นอกจากนักเรียนจะจำศัพท์และเขียนศัพท์แมวและสุนัขได้ด้วยความเข้าใจ ยิ่งขึ้นแล้วยังได้แสดงออกหรือสร้างสรรค์ความถนัดที่ตนเองมีอยู่ โดยการร้องเพลง หรือวาดรูปตามความถนัด ซึ่งเป็นคะแนนส่วนหนึ่งในการวัดผล การเรียน
..........ขั้นตอนที่ 3 ของกระบวนการคิดวิเคราะห์ คือ การนำสิ่งที่เรียนไปใช้นอกห้องเรียน หรือที่บ้าน เช่น อาจร้องเพลงติดปาก เพื่อร้องให้ พ่อแม่ฟัง หรือวาดรูปโดยบรรยายเป็นภาษาอังกฤษให้ผู้ปกครองที่บ้านดู สร้างความภูมิใจให้กับตัวผู้เรียนเองและนำผลการเรียนทุกวิชาไปใช้ ในแต่ละวัน หลักของกระบวนการคิดวิเคราะห์ คือต้องบูรณาการกับการเรียนในสาขาวิชาอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาทุกวิชา ลึกซึ้งขึ้น และจำได้ติดตา
..........การสอนตามกระบวนการคิดวิเคราะห์ใช้ในการสอนของครูในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก เยาวชนจะได้รับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในทุกด้าน คือ
..........1. เป็นเยาวชนที่รู้จักคิดหาเหตุผล รู้ผิด รู้ถูก รู้ควรไม่ควร รู้จักโต้แย้งอย่างนิ่มนวลมาตั้งแต่เด็ก ๆ
..........2. เป็นเยาวชนที่ถูกฝึกให้เป็นผู้สร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งที่ตนถนัดตามขั้นตอนของวัย กลายเป็นคนที่ไม่ชอบลอกเลียนแบบ เป็นตัวของ ตัวเอง และภูมิใจในคุณค่าของตัวเอง
..........3. เป็นเยาวชนที่เข้าในในเนื้อหาวิชาที่จะเรียนอย่างลึกซึ้ง ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ค้นคว้าหาสิ่งที่ตนไม่รู้ และนำวิชาที่เรียนไปใช้เป็นประโยชน์ ในชีวิต
..........4. เนื่องจากการสอนเชิงคิดวิเคราะห์ ต้องบูรณาการหลายวิชาเข้าด้วยกัน วิชาที่เรียนจึงดูสั้นลง แต่นักเรียนเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม
และทุกบริบทของการสอนคิดวิเคราะห์ ครูสามารถแทรกคุณธรรม จริยธรรมลงไปในบทเรียนได้ ทำให้เด็กซึมซับ จึงกลายเป็นคนดีของสังคม
วิธีสอนตามแนวกระบวนการคิดวิเคราะห์
..........ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ (แยกแยะ) ให้นักเรียนฝึกออกเสียงเน้นหนัก (Stress) คำแต่ละคำ และสรุปเนื้อหาแยกแยะแต่ละย่อหน้าว่า ความหมายต่างกัน อย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 สังเคราะห์ (สร้างสรรค์) โดยการแข่งขันกล่าวคำบรรยายหน้าชั้น เน้นการพูดเว้นวรรคตอน (Rhythm) ให้สละสลวย ไพเราะ หรือถ้าพูดไม่เก่ง อาจบรรยายเป็นรูปภาพ เช่น ย่อหน้าแรก เป็นรูปภาพฤดูฝน พระต้องอยู่จำวัดไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ บรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น
..........ขั้นตอนที่ 3 ขั้นนำไปใช้ ให้นักเรียนเขียนเรื่องราวเป็นการบ้าน หรือทำเป็นโครงงานเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา วิธีการเหล่านี้ จะทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา วิชาที่เรียนได้เป็นอย่างดี และนำไปใช้เป็นประโยชน์นานัปการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น