........วิธีการสอนแบบ Callan คือ วิธีการสอนที่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ มีแนวการสอนที่เข้มข้นด้วยการพูด เป็นวิธีการที่จะซึ่งนักเรียนสามารถเรียนได้เร็วถึง 4 เท่า อาจารย์สอนโดยปราศจากการใช้กระดาน ไม่มีการฟังจากเทป นักเรียนจะได้มีโอกาสพูดทันทีที่เริ่มบทเรียนแรก
นักเรียนที่มาเรียนที่ OZCA ACADEMY ในเมืองบริสเบนจะถูกสอบเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบ Callan Method ระบบนี้เป็นระบบการสอนที่เร็วและมีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษโดยผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิด
ระบบ Callan Method คืออะไร
........ ระบบ Callan Method ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุดในขั้นตอนการเรียนรู้ และในการเรียนภาษาอังกฤษเร็วที่สุดเท่าที่นักเรียนจะสามารถเรียนได้ ระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1960 โดยมิสเตอร์ โรบิน คอลแลน และได้ถูกนำมาใช้ให้ประสบความสำเร็จใน 26 ประเทศ และมากกว่า 300 แห่งในโรงเรียนสอนภาษาต่าง ๆ ที่มีการสอนแบบ Callan Method
วิธีฝึกภาษาอังกฤษแบบ Callan Method
........วิธีนี้เป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ถูกต้องแม่นยำและมีการสอนตามขั้นตอนแบ่งออกเป็น 12 ตอน อาจารย์จะถามนักเรียน เป็นชุดของคำถาม ซึ่งนักเรียนต้องตอบตามความสามารถของนักเรียนเอง วิธีนี้มุ่งหวังให้นักเรียนที่จะพูด และในห้องเรียน ก็จะดึงและกระตุ้นความจำของนักเรียน ถ้านักเรียนตอบผิดอาจารย์ก็จะบอกคำตอบที่ถูกให้กับนักเรียนแล้วให้พูดตาม ระบบ Callan เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่แล้วมาเป็นการปฏิบัติ-นักเรียนจะกลายเป็นผู้เรียนที่กระตือรือล้นนักเรียนหลายคนรู้จักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เป็นอย่างดีแต่พวกเขาไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง วิธี Callan Method จะช่วยให้นักเรียนพูดในสิ่งที่พวกเขารู้อยู่แล้ว ทำให้กล้าที่จะพูด อาจารย์แก้ไขให้ทันที นักเรียนจะจำส่วนที่ต้องแก้ไข การพูดกับอาจารย์อยู่ตลอดเวลาในห้องเรียนทำให้นักเรียนฝึกความเร็ว ทำให้เกิดความกล้า และความเคยชิน ในการใช้ภาษาอังกฤษozca เราตระหนักว่ามีนักเรียนต่างชาติมากมายมามากกว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ ถึงแม้จะเขาเหล่านั้นจะรู้ไวยากรณ์ และความหมายของศัพท์มากมาย ozca จึงตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้น จึงนำหลักสูตร Callan Method มาเปิดสอน ซึ่งหลักสูตรนี้อาจารย์จะให้นักเรียนตอบคำถามอยู่ตลอดเวลา เมื่อนักเรียนตอบผิด อาจารย์ก็จะแนะนำ เทคนิคนี้นักเรียนจะตอบอย่างรวดเร็วตามความรู้ของนักเรียนเอง เมื่อได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ก็จะรู้คำตอบที่ถูกต้อง และสามารถตอบในครั้งต่อไปได้ ซึ่งเทคนิคนี้จะทำให้นักเรียนกล้าที่จะตอบ และพูดมากขึ้น ใช้ได้ผลดีมาก ได้รับการพิสูจน์แล้วกว่า 300 กว่าโรงเรียนในประเทศอังกฤษ
คำถามที่เกี่ยวข้องวิธี Callan Method
- หลักไวยากรณ์อยู่ตรงไหน? เราไม่ได้สอนผ่านบทเรียน ไวยากรณ์ แต่เราได้สอนผ่านทางปฏิบัติในห้องเรียน
- ทำไมถึงไม่มีการบ้าน? นักเรียนจะคุ้นเคยกับการเรียนภาษาในแบบดั้งเดิมโดยที่นักเรียนจะรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างขาดไปถ้าไม่มีการบ้าน แต่วิธีนี้เราจะฝึกปฏิบัติให้ดีที่สุดในห้องเรียน
- นักเรียนจะเรียนรู้การเขียนได้อย่างไร โดยปราศจากการฝึกหัดที่จะเขียน?โดยวิธีนี้ไม่ได้สนับสนุนนักเรียนให้เขียนจนกระทั่งพวกนักเรียนได้เรียนที่จะคิดเป็นภาษาอังกฤษ นักเรียนจะฝึกการเขียนและการฟังโดยการเขียนตามคำบอกโดยอาจารย์ จะอ่านและนักเรียนจะฟังและเขียน ดังนั้นนักเรียนจะสามารถแก้คำผิดของพวกเขาได้
- วิธีนี้สอนแต่การสนทนาภาษาอังกฤษใช่ไหม? เพราะว่าระบบ Callan Method สอนภาษาอังกฤษโดยผ่านกระบวนกานยิงคำถามและคำตอบที่รวดเร็วมันสร้างความประทับใจให้นักเรียนที่ว่าวิธีสอนการสนทนาอย่างเดียว และไม่ใช่ในแง่มุมอื่นของภาษา สิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหา ทักษะต่าง ๆ ในส่วนของการพูด, การฟัง, การอ่าน และการเขียนจะถูกปรับปรุงผ่านการสนทนาในวิธี Callan Method หลังจากจบชั้น 12 ของหลักสูตร Callan Method ทั้งทักษะในการพูดและการเขียนจะอยู่ในขั้นสูงของภาษาอังกฤษ
- ความรู้และความเร็วจะถูกนำมาพิจารณาสำหรับชั้นเรียนของภาษาอังกฤษจะมีการแบ่งนักเรียนตามความรู้ และความเร็วในการพูด เราจะเห็นข้อแตกต่างอย่างมากระหว่างความรู้ที่มีอยู่ของภาษา และการที่จะสามารถนำมาใช้ ของภาษานั้น ในความเร็วที่กำหนด
- จำนวนนักเรียนในห้องเรียนที่ ozca academy จะมีนักเรียนในห้องเรียนสูงสุดไม่เกิน 14 คนต่อ 1 ชั้นเรียน
- เหมาะกับนักเรียนทุกวัยและทุกวัตถุประสงค์ของการเรียนวิธีของ Callan Method นี้จะเหมาะสำหรับนักเรียนในทุกวัยโดยจะเริ่มตั้งแต่อายุ 7 ปีจนถึงอายุ 70 ปี และเหมาะกับคนทุกชาติ และทุกวัตถุประสงค์ในการเรียน
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ภาษาอังกฤษ สไตล์มิสเตอร์หลี หยาง....."no pain no gain"
........มิสเตอร์หลี ตะโกนดังลั่น กลางชั้นเรียน ที่มี นักเรียนร่วม ๒,๐๐๐ คน ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง....."เอ้า ตะโกนพร้อมกัน... no pain no gain".....นักเรียนในชั้น ต่างตะโกนเสียงดัง กระหึ่มไปทั้งห้อง....."ดังขึ้นอีก ดังขึ้นอีก" มิสเตอร์หลี ตะโกนแข่งกับนักเรียน........ขอต้อนรับสู่วิธีสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่ สไตล์มิสเตอร์หลี ซึ่งเป็นวิธีการสอน ภาษาอังกฤษ ที่กำลังมาแรงที่สุด ในประเทศจีน.....เป็นเวลาสามปีมาแล้วที่ มิสเตอร์หลี เปิดคอร์ส สอนภาษาอังกฤษ โดยการตะโกน มิสเตอร์หลี สอนลูกศิษย์มาแล้ว ถึง ๑๔ ล้านคน ตั้งแต่ในโรงเรียน บริษัทต่าง ๆ ไปจนถึง ในกองทัพปลดแอกประชาชนจีน
.....เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่นั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน เริ่มจาก ให้นักเรียน ฟังวลีภาษาอังกฤษ ที่น่าสนใจ และบังคับให้ ตะโกน วลีนั้นออกมา เมื่อตะโกนบ่อย ๆ เข้า ความอึดอัดของคน ที่ต้องเรียน ภาษา ที่ไม่ใช่ภาษาแม่ตัวเอง ก็ถูกปลดปล่อยออกมา และเริ่มคุ้นกับ ภาษาอังกฤษไปเอง....."เคล็ดลับอีกอย่างก็คือ เวลาที่ตะโกนเป็นภาษาอังกฤษนั้น คุณต้องตั้งใจ และใช้สมาธิมาก ตะโกนบ่อย ๆ คุณจะพูดภาษาอังกฤษ คล่องขึ้น " มิสเตอร์หลี ให้คำอธิบาย.....ในขณะเดียวกัน เนื้อหาของการสอนนั้น ก็ต้องน่าสนใจ มิสเตอร์หลีเชื่อว่า หากเนื้อหาที่สอน เป็นเรื่องของ ชาตินิยมแล้ว จะมีพลังดึงดูด ให้คนสนใจ ภาษาอังกฤษ มากขึ้น....."เมื่อเรารู้ภาษาอังกฤษ เราสามารถนำเทคโนโลยี จากเมืองนอก มาสร้างประเทศ ให้เจริญได้"....."จีนมีวัฒนธรรมการกินอาหารชั้นสูง แต่ทำไม โลกจึงรู้จักเพียง โคคา โคล่า และแม็กโดนัลด์ ดังนั้น เป็นหน้าที่ ของคนจีน ที่ต้องรู้ ภาษาอังกฤษ เพื่อจะถ่ายทอด วัฒนธรรมการกิน ไปสู่คนตะวันตกให้ได้" มิสเตอร์หลี พูดปลุกระดมนักเรียน....."ข้าพเจ้าชอบไอเดีย การให้นักเรียนพูดอังกฤษ ด้วยเสียงดัง ๆ มันสนุกดี และชวนติดตามค่ะ" ฟาน จิง นักเรียนไฮสกูล ในปักกิ่ง แสดงความเห็น และบอกว่า หลังจากเรียนกับ มิสเตอร์หลีแล้ว ทำให้เขา กล้าพูดกับฝรั่ง มากขึ้น.....มิสเตอร์หลีเล่าความหลัง เมื่อครั้งเป็นเด็กว่า เขาอ่อน ภาษาอังกฤษ มาก จนแม่ต้องดุด่า ทำให้เขารู้สึก อึดอัดทุกครั้ง ที่เรียนวิชานี้ เวลาพูด ลิ้นก็แข็ง พูดไม่ชัด เขาไม่เคยชอบ ภาษาอังกฤษเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้ตะโกนออกมา เป็นภาษาอังกฤษ ความอึดอัดก็คลายลง
.....หลังจากนั้น เขาก็วิ่งไปรอบโรงเรียน พลางตะโกน บทเรียน ภาษาอังกฤษ บางครั้ง ก็ปีนขึ้นไป ตะโกนบนหลังคาตึก เขารู้สึกว่า ภาษาอังกฤษ ของตัวเอง ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันนี้ เขาสามารถขายหนังสือ ขายเทป และเป็นวิทยากร สอนนักเรียนทั่วประเทศ ให้เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยการตะโกน จนเขยิบฐานะเข้าขั้น เศรษฐีคนหนึ่ง.....แต่ไม่ได้หมายความว่า คนจีน จะสนใจวิธีการนี้กันหมด.....ในปี ๒๕๓๙ คณะครูสอนภาษาอังกฤษ ในเมืองทางตอนใต้ ของมณฑลกวางตุ้ง ได้รวมตัวกัน คัดค้าน วิธีการสอน สไตล์มิสเตอร์หลี และแฉว่า มีนักเรียน แอบอ่าน ตำราภาษาอังกฤษ ของมิสเตอร์หลี ในวิชาภาษาอังกฤษ ของครูคนอื่น....."เป็นการสะท้อนว่า วิธีสอนของผม น่าสนใจกว่า และสนุกกว่าวิธีเดิม ๆ ของครูในโรงเรียน" มิสเตอร์หลีโต้ .....ปัญหา ที่ทำให้นักเรียน ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ครูภาษาอังกฤษ มักจะสอน ไวยากรณ์ และการเขียน เพื่อใช้สอบ มากกว่า ฝึกให้นักเรียน พูดภาษาอังกฤษเป็น.....ภาษาอังกฤษ ง่ายนิดเดียว... ด้วยการตะโกน สไตล์มิสเตอร์หลี ดังนี้แล
......ลองสอนนักเรียนแบบตะโกนดู ทำแล้ว นักเรียนชั้น ม.ต้น โดยเฉพาะ ม.1 ได้ผลดีมากเลย
.....เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่นั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน เริ่มจาก ให้นักเรียน ฟังวลีภาษาอังกฤษ ที่น่าสนใจ และบังคับให้ ตะโกน วลีนั้นออกมา เมื่อตะโกนบ่อย ๆ เข้า ความอึดอัดของคน ที่ต้องเรียน ภาษา ที่ไม่ใช่ภาษาแม่ตัวเอง ก็ถูกปลดปล่อยออกมา และเริ่มคุ้นกับ ภาษาอังกฤษไปเอง....."เคล็ดลับอีกอย่างก็คือ เวลาที่ตะโกนเป็นภาษาอังกฤษนั้น คุณต้องตั้งใจ และใช้สมาธิมาก ตะโกนบ่อย ๆ คุณจะพูดภาษาอังกฤษ คล่องขึ้น " มิสเตอร์หลี ให้คำอธิบาย.....ในขณะเดียวกัน เนื้อหาของการสอนนั้น ก็ต้องน่าสนใจ มิสเตอร์หลีเชื่อว่า หากเนื้อหาที่สอน เป็นเรื่องของ ชาตินิยมแล้ว จะมีพลังดึงดูด ให้คนสนใจ ภาษาอังกฤษ มากขึ้น....."เมื่อเรารู้ภาษาอังกฤษ เราสามารถนำเทคโนโลยี จากเมืองนอก มาสร้างประเทศ ให้เจริญได้"....."จีนมีวัฒนธรรมการกินอาหารชั้นสูง แต่ทำไม โลกจึงรู้จักเพียง โคคา โคล่า และแม็กโดนัลด์ ดังนั้น เป็นหน้าที่ ของคนจีน ที่ต้องรู้ ภาษาอังกฤษ เพื่อจะถ่ายทอด วัฒนธรรมการกิน ไปสู่คนตะวันตกให้ได้" มิสเตอร์หลี พูดปลุกระดมนักเรียน....."ข้าพเจ้าชอบไอเดีย การให้นักเรียนพูดอังกฤษ ด้วยเสียงดัง ๆ มันสนุกดี และชวนติดตามค่ะ" ฟาน จิง นักเรียนไฮสกูล ในปักกิ่ง แสดงความเห็น และบอกว่า หลังจากเรียนกับ มิสเตอร์หลีแล้ว ทำให้เขา กล้าพูดกับฝรั่ง มากขึ้น.....มิสเตอร์หลีเล่าความหลัง เมื่อครั้งเป็นเด็กว่า เขาอ่อน ภาษาอังกฤษ มาก จนแม่ต้องดุด่า ทำให้เขารู้สึก อึดอัดทุกครั้ง ที่เรียนวิชานี้ เวลาพูด ลิ้นก็แข็ง พูดไม่ชัด เขาไม่เคยชอบ ภาษาอังกฤษเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้ตะโกนออกมา เป็นภาษาอังกฤษ ความอึดอัดก็คลายลง
.....หลังจากนั้น เขาก็วิ่งไปรอบโรงเรียน พลางตะโกน บทเรียน ภาษาอังกฤษ บางครั้ง ก็ปีนขึ้นไป ตะโกนบนหลังคาตึก เขารู้สึกว่า ภาษาอังกฤษ ของตัวเอง ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันนี้ เขาสามารถขายหนังสือ ขายเทป และเป็นวิทยากร สอนนักเรียนทั่วประเทศ ให้เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยการตะโกน จนเขยิบฐานะเข้าขั้น เศรษฐีคนหนึ่ง.....แต่ไม่ได้หมายความว่า คนจีน จะสนใจวิธีการนี้กันหมด.....ในปี ๒๕๓๙ คณะครูสอนภาษาอังกฤษ ในเมืองทางตอนใต้ ของมณฑลกวางตุ้ง ได้รวมตัวกัน คัดค้าน วิธีการสอน สไตล์มิสเตอร์หลี และแฉว่า มีนักเรียน แอบอ่าน ตำราภาษาอังกฤษ ของมิสเตอร์หลี ในวิชาภาษาอังกฤษ ของครูคนอื่น....."เป็นการสะท้อนว่า วิธีสอนของผม น่าสนใจกว่า และสนุกกว่าวิธีเดิม ๆ ของครูในโรงเรียน" มิสเตอร์หลีโต้ .....ปัญหา ที่ทำให้นักเรียน ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ครูภาษาอังกฤษ มักจะสอน ไวยากรณ์ และการเขียน เพื่อใช้สอบ มากกว่า ฝึกให้นักเรียน พูดภาษาอังกฤษเป็น.....ภาษาอังกฤษ ง่ายนิดเดียว... ด้วยการตะโกน สไตล์มิสเตอร์หลี ดังนี้แล
......ลองสอนนักเรียนแบบตะโกนดู ทำแล้ว นักเรียนชั้น ม.ต้น โดยเฉพาะ ม.1 ได้ผลดีมากเลย
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)
......... การนำโครงงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนถือได้ว่าไม่ใช่สิ่งใหม่ในการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ผ่านมามีการนำมาใช้ได้ค่อยพัฒนาจนได้รับการยอมรับเป็นกลวิธีการสอนอย่างเป็นทางการ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานได้เข้ามามีส่วนสำคัญในห้องเรียนเมื่อมีงานวิจัยมาสนับสนุนสิ่งที่ครูได้เชื่อมั่นมายาวนานก่อนหน้านี้ว่านักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีโอกาสได้ค้นคว้าในสิ่งที่ซับซ้อน ท้าทายหรือในบางครั้งเป็นประเด็นปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
>
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะเป็นไปตามความสนใจของนักเรียน การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือล้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง (Thomas, 1998) มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะนี้ ศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีความหมายและเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking, 2000, p. 23)
การเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร
>
.........การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นรูปแบบวิธีสอนที่จะนำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้สำเร็จด้วยตนเองโครงงานที่จะมาช่วยสร้างสภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนจะเกิดได้ในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลายเนื้อหาและในหลายระดับช่วงชั้นโครงงานจะเกิดขึ้นบนความท้าทายจากคำถามที่ไม่สามารถตอบได้จากการท่องจำ โครงงานจะสร้างบทบาทหลากหลายขึ้นในตัวนักเรียน-เป็นผู้ที่แก้ปัญหา คนที่ตัดสินใจ นักค้นคว้า นักวิจัยโครงงานจะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงทางการศึกษา;ไม่ใช้สิ่งที่แปลกแยกหรือเพิ่มเติมลงไปในหลักสูตรเนื้อหาที่แท้จริง
การเรียนรู้ด้วยโครงงานเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าอย่างไร
>
.........การค้นคว้าจะเป็นการรวบรวมกิจกรรมหลากหลายที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเราในเรื่องความอยากรู้อยากเห็นที่มีต่อสิ่งรอบตัวการค้นคว้าจะมีความหมายเฉพาะเจาะจงในประเด็นทางการศึกษา ครูที่ใช้กระบวนค้นคว้าเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม วางแผนดำเนินงานในการค้นคว้า การสังเกต และบอกสิ่งที่ค้นพบได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจจะเป็นได้มากกว่านั้นก็ได้ กิจกรรมการค้นคว้าในห้องเรียนอาจเกิดต่อเนื่องไปตลอดการเรียนรู้-จากการเรียนรู้แบบเดิมที่มีครูเป็นผู้ดำเนินการไปสู่การเรียนรู้ที่เปิดกว้างและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในสิ่งอื่นๆ ได้ (Jarrett, 1997)
เราอาจจะคิดว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงค้นคว้า มีงานวิจัยที่สรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยโครงงานไว้ว่าเป็นโครงงานจะเน้นให้ผู้เรียนสนใจในปัญหาหรือคำถามที่จะผลักดันให้เข้า ถึงแก่นของแนวคิดหรือหลักการนั้น (Thomas, 2000, p. 3) ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง (Thomas, 2000) โดยปกติแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตอบสนองต่อความสนใจใครรู้และความอยากรู้อยากเห็น และในการพยายามที่จะคำถามเหล่านั้น นักเรียนอาจได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่แม้แต่ครูเองก็ยังไม่ได้กำหนดไว้
ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงานมีอะไรบ้าง
>
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะมีประโยชน์ที่หลากหลายทั้งต่อครูและนักเรียน ในการที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้จากการค้นคว้ามีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นที่รับรองว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมลดการขาดเรียนเพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือและช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (George Lucas Educational Foundation, 2001)
สำหรับนักเรียนแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีดังนี้
• เพิ่มอัตราการเข้าเรียน เสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ (Thomas, 2000)
• เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นแล้ว ผลสัมฤทธิ์มค่าเท่ากับหรือสูงกว่า หากผู้เรียนได้มีส่วนรับผิดชอบในการทำโครงงาน (Boaler, 1997; SRI, 2000)
• เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาทักษะที่ซับซ้อน เช่น ทักษะการคิดขั้นสูง การแก้ปัญหา การทำงานแบบร่วมมือและการสื่อสาร (SRI, 2000)
• ให้โอกาสที่เปิดกว้างต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีการปรับใช้กลวิธีเพื่อรองรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Railsback, 2002)
>
.........การเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบนี้จะเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหลายๆ คนจากการที่ได้รับประสบการณ์ตรง โดยจะได้รับบทบาทและใช้พฤติกรรมของผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทำหนังสารคดีเกี่ยวกับอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การออกแบบแผ่นพับที่แนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นหรือสร้างงานนำเสนอเพื่อแสดงข้อดีข้อเสียของการก่อสร้างห้างสรรพสินค้า นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริงๆ ที่มีความสำคัญนอกชั้นเรียน
>
.........ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้วยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย (Thomas, 2000) นอกจากนั้นยังมีครูอีกมากที่รู้สึกยินดีที่ได้ค้นพบรูปแบบวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียนด้วยการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ในชั้นเรียนยังพบอีกว่านักเรียนที่จะได้ประโยชน์จากวิธีเรียนด้วยโครงงานมักจะเป็นนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบเดิมไม่ค่อยได้ผลดีนัก (SRI, 2000)
วิธีสอนนี้เปลี่ยนแปลงการสอนในห้องเรียนแบบเดิมๆ อย่างไรบ้าง
>
.........โครงการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพครู Intel® Teach to the Future (2003) ได้กล่าวในงานนำเสนอเพื่อชี้แจงโครงการว่าห้องเรียนที่ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน จะมี
• คำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียว
• มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
• นักเรียนมีการตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
• นักเรียนได้ออกแบบวิธีการที่จะแก้ไขปัญหา
• นักเรียนมีโอกาสที่จะประเมินกิจกรรมที่ทำ
• มีการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
• มีผลผลิตในขั้นสุดท้ายและสามารถประเมินคุณภาพได้
>
.........สำหรับนักเรียนที่คุ้นเคยกับวิธีจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆจะพบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานจากทำตามสั่งมาเป็นการทำงานที่กำหนดเป้าหมายด้วยตนเองจากการเน้นความจำและทำงานซ้ำๆมาเป็นการค้นคว้า การบูรณาการและการนำเสนอ จากการฟังและการตอบคำถามมาเป็นการสื่อสารและมีความรับผิดชอบ จากความรู้เชิงข้อเท็จจริงด้านเนื้อหามาเป็นความเข้าใจกระบวนการ จากการรู้ทฤษฎีมาเป็นการประยุกต์ใช้ จากการต้องพึ่งพาครูผู้สอนมาเป็นการพึ่งพาตนเอง (Intel, 2003)
ครูต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอะไรบ้าง
>
.........ครูที่นำการจัดการเยนรู้ด้วยโครงงานมาสู่ชั้นเรียนจำเป็นจะต้องนำเอากลวิธีการสอนใหม่ๆมาใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จนอกจากนี้นักวิชาการยังเห็นด้วยว่าครูควรปรับบทบาทจากผู้สอนหรือถูกสอนมาเพื่อสอนมาเป็นผู้ชี้แนะหรือผู้จัดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้มากกว่า
การสอนโดยตรงที่ต้องพึ่งพาตำราเรียน การสอนแบบบรรยายและการสอบแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลตามที่คาดหากเทียบกับโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกันหลายกลุ่มสาระ และถึงแม้ว่าครูจะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้คำแนะนำแนวทางมากกว่าการบอกการสอน แต่ครูเองก็ต้องยอมรับข้อบกพร่องที่อาจเกิดขณะที่นักเรียนพยายามทำโครงงานให้สำเร็จ (Intel, 2003). ในขณะทำโครงงาน ตัวครูเองอาจพบว่าตัวเองก็กำลังเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียนได้เช่นเดียวกัน
สิ่งท้าทายที่ครูต้องเผชิญ อาจรวมถึง
• การจดจำถึงสถานการณ์ที่อาจนำมาทำเป็นโครงงานที่ดี
• ปัญหาที่อาจก่อให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้
• การร่วมมือกับเพื่อนครู่เพื่อบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ
• การจัดการกระบวนการเรียนรู้
• การบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
• การพัฒนาแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง
>
.........ที่จริงแล้ว ตัวครูเองก็อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการที่จะเอาชนะความท้าทายตั้งแต่แรก การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารจะช่วยทำให้การนำไปใช้จริงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การกำหนดระยะเวลาหรือการวางแผนร่วมกันและช่วยให้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพแก่ครู
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)
......... การนำโครงงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนถือได้ว่าไม่ใช่สิ่งใหม่ในการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ผ่านมามีการนำมาใช้ได้ค่อยพัฒนาจนได้รับการยอมรับเป็นกลวิธีการสอนอย่างเป็นทางการ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานได้เข้ามามีส่วนสำคัญในห้องเรียนเมื่อมีงานวิจัยมาสนับสนุนสิ่งที่ครูได้เชื่อมั่นมายาวนานก่อนหน้านี้ว่านักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีโอกาสได้ค้นคว้าในสิ่งที่ซับซ้อน ท้าทายหรือในบางครั้งเป็นประเด็นปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
>
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะเป็นไปตามความสนใจของนักเรียน การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือล้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง (Thomas, 1998) มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะนี้ ศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีความหมายและเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking, 2000, p. 23)
การเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร
>
.........การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นรูปแบบวิธีสอนที่จะนำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้สำเร็จด้วยตนเองโครงงานที่จะมาช่วยสร้างสภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนจะเกิดได้ในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลายเนื้อหาและในหลายระดับช่วงชั้นโครงงานจะเกิดขึ้นบนความท้าทายจากคำถามที่ไม่สามารถตอบได้จากการท่องจำ โครงงานจะสร้างบทบาทหลากหลายขึ้นในตัวนักเรียน-เป็นผู้ที่แก้ปัญหา คนที่ตัดสินใจ นักค้นคว้า นักวิจัยโครงงานจะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงทางการศึกษา;ไม่ใช้สิ่งที่แปลกแยกหรือเพิ่มเติมลงไปในหลักสูตรเนื้อหาที่แท้จริง
การเรียนรู้ด้วยโครงงานเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าอย่างไร
>
.........การค้นคว้าจะเป็นการรวบรวมกิจกรรมหลากหลายที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเราในเรื่องความอยากรู้อยากเห็นที่มีต่อสิ่งรอบตัวการค้นคว้าจะมีความหมายเฉพาะเจาะจงในประเด็นทางการศึกษา ครูที่ใช้กระบวนค้นคว้าเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม วางแผนดำเนินงานในการค้นคว้า การสังเกต และบอกสิ่งที่ค้นพบได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจจะเป็นได้มากกว่านั้นก็ได้ กิจกรรมการค้นคว้าในห้องเรียนอาจเกิดต่อเนื่องไปตลอดการเรียนรู้-จากการเรียนรู้แบบเดิมที่มีครูเป็นผู้ดำเนินการไปสู่การเรียนรู้ที่เปิดกว้างและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในสิ่งอื่นๆ ได้ (Jarrett, 1997)
เราอาจจะคิดว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงค้นคว้า มีงานวิจัยที่สรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยโครงงานไว้ว่าเป็นโครงงานจะเน้นให้ผู้เรียนสนใจในปัญหาหรือคำถามที่จะผลักดันให้เข้า ถึงแก่นของแนวคิดหรือหลักการนั้น (Thomas, 2000, p. 3) ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง (Thomas, 2000) โดยปกติแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตอบสนองต่อความสนใจใครรู้และความอยากรู้อยากเห็น และในการพยายามที่จะคำถามเหล่านั้น นักเรียนอาจได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่แม้แต่ครูเองก็ยังไม่ได้กำหนดไว้
ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงานมีอะไรบ้าง
>
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะมีประโยชน์ที่หลากหลายทั้งต่อครูและนักเรียน ในการที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้จากการค้นคว้ามีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นที่รับรองว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมลดการขาดเรียนเพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือและช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (George Lucas Educational Foundation, 2001)
สำหรับนักเรียนแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีดังนี้
• เพิ่มอัตราการเข้าเรียน เสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ (Thomas, 2000)
• เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นแล้ว ผลสัมฤทธิ์มค่าเท่ากับหรือสูงกว่า หากผู้เรียนได้มีส่วนรับผิดชอบในการทำโครงงาน (Boaler, 1997; SRI, 2000)
• เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาทักษะที่ซับซ้อน เช่น ทักษะการคิดขั้นสูง การแก้ปัญหา การทำงานแบบร่วมมือและการสื่อสาร (SRI, 2000)
• ให้โอกาสที่เปิดกว้างต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีการปรับใช้กลวิธีเพื่อรองรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Railsback, 2002)
>
.........การเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบนี้จะเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหลายๆ คนจากการที่ได้รับประสบการณ์ตรง โดยจะได้รับบทบาทและใช้พฤติกรรมของผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทำหนังสารคดีเกี่ยวกับอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การออกแบบแผ่นพับที่แนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นหรือสร้างงานนำเสนอเพื่อแสดงข้อดีข้อเสียของการก่อสร้างห้างสรรพสินค้า นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริงๆ ที่มีความสำคัญนอกชั้นเรียน
>
.........ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้วยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย (Thomas, 2000) นอกจากนั้นยังมีครูอีกมากที่รู้สึกยินดีที่ได้ค้นพบรูปแบบวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียนด้วยการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ในชั้นเรียนยังพบอีกว่านักเรียนที่จะได้ประโยชน์จากวิธีเรียนด้วยโครงงานมักจะเป็นนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบเดิมไม่ค่อยได้ผลดีนัก (SRI, 2000)
วิธีสอนนี้เปลี่ยนแปลงการสอนในห้องเรียนแบบเดิมๆ อย่างไรบ้าง
>
.........โครงการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพครู Intel® Teach to the Future (2003) ได้กล่าวในงานนำเสนอเพื่อชี้แจงโครงการว่าห้องเรียนที่ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน จะมี
• คำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียว
• มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
• นักเรียนมีการตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
• นักเรียนได้ออกแบบวิธีการที่จะแก้ไขปัญหา
• นักเรียนมีโอกาสที่จะประเมินกิจกรรมที่ทำ
• มีการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
• มีผลผลิตในขั้นสุดท้ายและสามารถประเมินคุณภาพได้
>
.........สำหรับนักเรียนที่คุ้นเคยกับวิธีจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆจะพบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานจากทำตามสั่งมาเป็นการทำงานที่กำหนดเป้าหมายด้วยตนเองจากการเน้นความจำและทำงานซ้ำๆมาเป็นการค้นคว้า การบูรณาการและการนำเสนอ จากการฟังและการตอบคำถามมาเป็นการสื่อสารและมีความรับผิดชอบ จากความรู้เชิงข้อเท็จจริงด้านเนื้อหามาเป็นความเข้าใจกระบวนการ จากการรู้ทฤษฎีมาเป็นการประยุกต์ใช้ จากการต้องพึ่งพาครูผู้สอนมาเป็นการพึ่งพาตนเอง (Intel, 2003)
ครูต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอะไรบ้าง
>
.........ครูที่นำการจัดการเยนรู้ด้วยโครงงานมาสู่ชั้นเรียนจำเป็นจะต้องนำเอากลวิธีการสอนใหม่ๆมาใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จนอกจากนี้นักวิชาการยังเห็นด้วยว่าครูควรปรับบทบาทจากผู้สอนหรือถูกสอนมาเพื่อสอนมาเป็นผู้ชี้แนะหรือผู้จัดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้มากกว่า
การสอนโดยตรงที่ต้องพึ่งพาตำราเรียน การสอนแบบบรรยายและการสอบแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลตามที่คาดหากเทียบกับโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกันหลายกลุ่มสาระ และถึงแม้ว่าครูจะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้คำแนะนำแนวทางมากกว่าการบอกการสอน แต่ครูเองก็ต้องยอมรับข้อบกพร่องที่อาจเกิดขณะที่นักเรียนพยายามทำโครงงานให้สำเร็จ (Intel, 2003). ในขณะทำโครงงาน ตัวครูเองอาจพบว่าตัวเองก็กำลังเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียนได้เช่นเดียวกัน
สิ่งท้าทายที่ครูต้องเผชิญ อาจรวมถึง
• การจดจำถึงสถานการณ์ที่อาจนำมาทำเป็นโครงงานที่ดี
• ปัญหาที่อาจก่อให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้
• การร่วมมือกับเพื่อนครู่เพื่อบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ
• การจัดการกระบวนการเรียนรู้
• การบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
• การพัฒนาแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง
>
.........ที่จริงแล้ว ตัวครูเองก็อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการที่จะเอาชนะความท้าทายตั้งแต่แรก การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารจะช่วยทำให้การนำไปใช้จริงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การกำหนดระยะเวลาหรือการวางแผนร่วมกันและช่วยให้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพแก่ครู
การเรียนการสอนด้วยวิธีสตอริไลน์ ( Storyline method)
การเรียนการสอนด้วยวิธีสตอริไลน์ ( Storyline method)
....... การเรียนการสอนที่ผ่านมาในอดีต มักจะเป็นการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher - centered) ครูมีบทบาอย่างมากที่จะพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของคนให้เป็นคนดี มีสุขภาพพลานามัยที่ดี วิธีการสอนแบบเดิมมักจะเป็นการบรรยาย หรือการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ฟัง ครูจะเป็นผู้นำเสนอแต่เพียงผู้เดียวแต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสารสนเทศ อันเป็นยุคที่ชาติต้องเผชิญกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องมีการเตรียมลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ มีการจัดสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาใหม่มาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child - centered) มีนวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจวิธีหนึ่งที่สามารถฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริงใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารญาณ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจการแก้ปัญหา ตลอดจนการริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการใช้หลักการบรูณาการ วิธีนี้เป็นผลจากการค้นพบของ สตีฟ เบลล์ (Steve Bell) นักการศึกษาชาวสก็อต เรียกว่า การเรียนการสอนที่เน้นสตอริไลน์ (Storyline approach) และยังเรียกว่า วิธีสตอริไลน์ (Storyline method) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์หรือเรียกว่ากำหนดเส้นทางการเดินทางเดินเรื่อง (topic line) และใช้คำถามหลัก (key question) เป็นตัวนำสู่การให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง องค์ประกอบสำคัญของวิธิสตอริไลน์มีอยู่ 4
องค์ประกอบ คือ
1. ฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2. ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3. วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ในการศึกษา
4. ปัญหาที่ให้ผู้เรียนฝึกแก้ไข
.......วิธีสตอริไลน์เป็นแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ มีลักษณะเฉพาะคือ การผูกเป็นเรื่องราวหรือมีเส้นทางเดินเรื่อง แบ่งเรื่องราวออกเป็นฉากและเรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เรียนตามสภาพจริงสามารถถ่ายโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ให้อิสระกับผู้เรียนและมีความสุขกับการได้แสดงออก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สามารถขยายความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข้อคิดที่ได้จากการอ่านบทความนี้คือรูปแบบและวิธีการสอนที่น่าสนใจและแตกต่างจากรูปแบบเดิมๆที่เคยพบมา และเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของเด็กเองและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ บทสัมภาษณ์อาจารย์สาริน งามจิตร์
........ในประเทศเราทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าภาษาอังกฤษมีความจำเป็นในการศึกษาและการทำงาน ความก้าวหน้าในวิทยาการของต่างประเทศที่มีมากกว่าทำให้เราต้องอ่านตำราภาษาอังกฤษ ติดต่อศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ความก้าวหน้า ความจำเป็นอันเดียวกันนี้เองทำให้คนทำงานต้องรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อโอกาสในการได้รับเลือกเข้าทำงานและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ผู้เขียนเองชอบเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนและเป็นคนตั้งใจเรียนอยู่เป็นทุนเดิม นอกจากนี้ ยังโชคดีได้พบอาจารย์ซึ่งมีความรู้ภาษาอังกฤษและเทคนิคการถ่ายทอดดีเยี่ยม ความเก่งและทุ่มเทของอาจารย์ทำให้ลูกศิษย์มีแรงจูงใจที่จะเรียนและรักภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย ความรู้ที่อาจารย์ให้เป็นพื้นฐานมาจนถึงทุกวันนี้ที่กลายมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ก็ยังมีอาจารย์เป็นต้นแบบวันนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอบทสัมภาษณ์ อาจารย์สาริน งามจิตร์ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการเป็นนักเรียนและครูสอนภาษาอังกฤษซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและเพื่อนครูด้วยกัน ขอทราบประวัติและคุณวุฒิของอาจารย์ค่ะเกิดที่ อ.เมือง จังหวัด พะเยา เรียนชั้นประถมปีที่ 1-3 ที่พะเยา แล้วย้ายมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ม.ศ. 3 ที่โรงเรียนผดุงดรณี-โปร่งใจ หลังจากนั้นไปเรียนต่อชั้น ม.ศ. 4 – 5 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี 2516 ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเอกวิชาภาษาอังกฤษ วิชาโท คือ ประวัติศาสตร์ และภาษาไทย เริ่มรับราชการครูที่โรงเรียน ราชวินิตบางแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2520 แล้วย้ายมาสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมฯ ปี พ.ศ. 2524 เดินทางไปเรียนปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2527 ได้รับปริญญา M.A. จาก Central Missouri State University แล้วก็กลับมาสอนที่โรงเรียน เตรียมอุดม ค่ะ อาจารย์มีความรู้ภาษาอังกฤษดีเยี่ยม ช่วยบอกหน่อยค่ะว่าจะเรียนภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จอย่างนี้ได้อย่างไร ก่อนอื่นครูคงต้องขอออกตัวก่อนว่า ภาษาอังกฤษของครูคงไม่ถึงขั้นดีเยี่ยมหรอกค่ะ เพียงแต่สามารถใช้สื่อสารได้ดีพอสมควร สำหรับใครก็ตามที่อยากเก่งภาษาอังกฤษ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้อง มีความรักในภาษาอังกฤษเสียก่อน เมื่อเราชอบอะไรแล้ว เราก็จะมีความพากเพียรที่จะทำสิ่งนั้นให้ออกมาดีที่สุด นอกจากความชอบแล้ว ปัจจัยต่อมาก็คือ เราได้รับการสอนจากใคร สำหรับตัวครูต้องเรียกว่า ครูโชคดีมากๆ ที่ได้ครูภาษาอังกฤษคนแรกในชีวิตที่น่ารักและให้กำลังใจในการเรียนเป็นที่สุด เพราะครูเป็นเด็กบ้านนอกมาเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ตอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งคนอื่นๆ เขาเรียนมาก่อนเราถึง 4-5 ปี แต่คุณครูวีณา ซึ่งเป็นครูภาษาอังกฤษ
........คนแรกของครูในโรงเรียนผดุงดรุณีได้มีส่วนช่วยอย่างมากๆ โดยเฉพาะ เรื่องคำศัพท์ คุณครูเรียกมาอ่านก่อนเข้าชั้นเรียนทุกเช้า ทำให้คำศัพท์ของครูเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในเวลาเพียง 1 ปี ครูก็สามารถเรียนตามเพื่อนๆ ได้และก็สามารถแซงหน้าเพื่อนๆ อีกหลายคนได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ครูก็ชอบฟังเพลงภาษาอังกฤษ ชอบดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ชอบดู UBC ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ได้ดี นอกจากจะมีความรู้ในวิชาที่สอนดีเยี่ยมแล้ว อาจารย์ยังสามารถถ่ายทอดความรู้นี้ให้กับนักเรียนได้เต็มที่ อาจารย์คิดว่าปัจจัยอะไรทำให้ครูคนหนึ่งสามารถสอนภาษาอังกฤษได้ดีสำหรับเรื่องการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้น ครูคิดว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากเลยค่ะ เหมือนกับการปลูกพืช ก่อนอื่นเราต้องดูเนื้อดิน ก่อนว่า ดินแปลงนี้เราจะปลูกพืชลงไปนั้นเป็นดินชนิดไหน ดี หรือด้อยประการใด เช่นเดียวกับนักเรียน เวลาที่ครูสอนเด็กค่อนข้างอ่อน ก็ใช้วิธีหนึ่ง และถ้าสอนนักเรียนที่เก่งแล้ว ก็จะใช้อีกวิธีหนึ่ง มิเช่นนั้นแล้ว การเรียนการสอนจะน่าเบื่อมากๆ ถ้าครูผู้สอนไม่ปรับวิธีการสอน ปัจจัยที่สองก็คือ ครูผู้สอนต้องมีความรู้ในวิชาที่ตัวเองสอนอย่างแม่นยำและถูกต้อง มิฉะนั้นจะทำให้นักเรียนหมดศรัทธาในตัวครูผู้สอนได้ ดังนั้น ครูจึงเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ก่อนเข้าสอนและดูข่าว อ่านหนังสือพิมพ์ ทุกเช้า เพื่อสามารถโยงเรื่องต่างๆ เข้าสู่บทเรียน เพื่อทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และนักเรียนจะได้คำศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ปัจจัยต่อมาก็คือ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามได้เต็มที่ ถ้าเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ ครูก็จะบอกกับนักเรียนตรงๆ ว่าครูไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจ แต่ครูจะไปค้นหาคำตอบมาให้ทีหลัง โดยไม่ต้องกลัวเสียหน้า เพราะถ้าครูคนไหนตอบผิดๆ ไปจะเกิดผลเสียมากกว่า ผลดีค่ะ สำหรับตัวครูเอง จะบอกกับนักเรียนเสมอ ครูไม่ใช่เจ้าของภาษา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะต้องรู้ทุกเรื่อง การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษมากๆ จะช่วยได้มากเลยค่ะ ในการหาความรู้แล้วนำมาถ่ายทอดอีกทีหนึ่ง และประการสุดท้ายที่ครูคิดว่าสำคัญมากในการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ดีก็คือ พยายามทำให้นักเรียนสนุกในการเรียนและทำให้นักเรียนเห็นว่าเมื่อเรียนไปแล้ว เขาสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ซึ่งบางครั้งครูก็อาจจะต้องทำตัวเป็น Entertainer เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนค่ะ การสอนที่โดดเด่นมากของอาจารย์คือ การให้ Input อาจารย์ให้ศัพท์เยอะมากและสอนทั้งความหมาย ไวยากรณ์และการใช้ ในความเห็นของอาจารย์ ศัพท์มีความสำคัญในการเรียนอย่างไรคะ และ อาจารย์แนะนำว่าควรสอนศัพท์อย่างไรในเรื่องการสอนคำศัพท์ และไวยากรณ์ให้กับนักเรียนนั้น ครูคิดว่า นักเรียนส่วนใหญ่มักจะเรียนไวยากรณ์ โดยการท่องจำ โดยไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องใช้รูปประโยคแบบนั้น ซึ่งพอถึงเวลาจะต้องนำไปใช้จริงๆ ก็ไม่สามารถเขียนประโยคที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ทุกครั้งที่ครูสอนไวยากรณ์ให้นักเรียนแล้ว ครูจะทำ Quiz สั้นๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียนเสมอ ถ้าพบว่า นักเรียนคนไหนยังไม่เข้าใจก็จะเรียกมาอธิบายซ้ำอีกครั้ง หรือจนกว่าจะเข้าใจ สำหรับครูเอง คิดว่า ตัวเราเรียนอะไรด้วยความเข้าใจแล้ว เราจะจำได้จนวันตาย แต่การท่องจำ เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เราก็จะลืมได้ นอกจากนี้เวลาสอนไวยากรณ์ ครูก็จะพยายามยกตัวอย่างจากเรื่องที่ใกล้ตัว หรือเรื่องนักเรียนสนใจ เพื่อทำให้ตัวอย่างนั้นๆ อยู่ในความทรงจำของนักเรียน สำหรับการสอนคำศัพท์นั้น ก็สำคัญ พอๆ กับการสอนไวยากรณ์
โดยเฉพาะ นักเรียนไทยจะมีปัญหาเรื่องคำศัพท์มากๆ เวลาอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนอื่น ครูจะพยายามแตกศัพท์ให้นักเรียนมากๆ เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ของคำ และรู้จัก root word แล้วสามารถแตกศัพท์ โดยการเติม prefix หรือ suffix ก็จะทำให้นักเรียนได้รู้จักศัพท์มากขึ้น ต่อมาก็คือ พยายามให้นักเรียนรู้จักเดาความหมายของคำศัพท์จาก Context ดังนั้น เวลาครูสอนก็จะสอนจาก Context ไม่ใช่สอนเป็นคำๆ โดดๆ เพราะนักเรียนจะจำไม่ได้ และถ้าสามารถเล่าที่มาที่ไปของคำศัพท์นั้นๆ ได้จะยิ่งทำให้นักเรียนสามารถจำคำศัพท์นั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาอีกอย่างหนึ่งในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนก็คือ การแปลคำศัพท์ให้กับนักเรียน เพราะบางครั้งภาษาไทยมีคำเดียว แต่ภาษาอังกฤษมีถึง 3-4 คำ ถ้าครูผู้สอนไม่แจกแจงอย่างถูกต้อง เวลาที่นักเรียนนำไปใช้ก็จะใช้อย่างผิดๆ เช่น คำว่า “โอกาส” ภาษาอังกฤษจะมีคำว่า Chance, Opportunity, Occasion ดังนั้น ครูผู้สอนต้องเข้าใจการใช้คำศัพท์เหล่านี้ในภาษาอังกฤษได้อย่างดีก่อน แล้วจึงจะสามารถอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้กับนักเรียนได้ เพราะจากประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 26 ปี ครูพบว่า เวลาให้นักเรียนแต่งเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ นักเรียนไทยจะมีปัญหาในการเลือกหาคำศัพท์ที่ถูกต้องมาใช้ในประโยคเสมอ นอกจากนี้ เนื่องจากทุกวันนี้ เราอยู่ในโลกที่ไร้พรมแดน ทำให้คำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องใฝ่รู้ มิเช่นนั้น ก็จะตามนักเรียนไม่ทัน โดยเฉพาะ technical terms ต่างๆ สำหรับการสอนคำศัพท์ให้กับนักเรียนนั้น ถ้าจะให้ดี ครูผู้สอนควรจะให้ความหมายเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ ให้กับนักเรียนด้วย อย่าแปลเป็นภาษาไทยอย่างเดียว และถ้าจะทดสอบว่า นักเรียนเข้าใจหรือไม่ ก็ให้นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สอนไปแล้ว ไปแต่งประโยคด้วยตนเอง ก็จะทำให้เรารู้ว่า นักเรียนรู้จักหน้าที่ของคำ และความหมายของศัพท์หรือไม่ มีนักเรียนจำนวนมากที่ชอบนำคำคุณศัพท์ไปใช้เป็นคำกริยา เพราะเวลาแปลคำศัพท์จากภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นคำคุณศัพท์ แต่ตรงกับคำกริยาในภาษาไทย เช่น คำว่า “โกรธ” เวลานักเรียนเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือพูด ก็มักจะบอกว่า “I angry.” ซึ่งผิด ดังนั้นเราต้องอธิบายว่า angry เป็น adj. ไม่ใช่ “verb” จะต้องใช้ตามหลัง v. to be หรือ Linking Verbs เป็นต้น ครูคิดว่า ถ้านักเรียนแยกแยะหน้าที่ของคำได้ และสามารถเข้าใจความหมายของศัพท์ใน context ที่แตกต่างกันได้ ก็จะทำให้นักเรียนเรียนคำศัพท์ได้อย่างดี และใช้ได้อย่างถูกต้อง อาจารย์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนและสนทนานอกห้องเรียน ซึ่งมีส่วนทำให้นักเรียนได้รับ input มากและมีแรงจูงใจในการเรียน อาจารย์มีหลักในเรื่องสื่อในการสอนอย่างไรคะ เรื่องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนและการสนทนานอกห้องเรียนนั้น ครูคิดจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบัน เพราะโรงเรียนไทยในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถที่
........คนแรกของครูในโรงเรียนผดุงดรุณีได้มีส่วนช่วยอย่างมากๆ โดยเฉพาะ เรื่องคำศัพท์ คุณครูเรียกมาอ่านก่อนเข้าชั้นเรียนทุกเช้า ทำให้คำศัพท์ของครูเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในเวลาเพียง 1 ปี ครูก็สามารถเรียนตามเพื่อนๆ ได้และก็สามารถแซงหน้าเพื่อนๆ อีกหลายคนได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ครูก็ชอบฟังเพลงภาษาอังกฤษ ชอบดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ชอบดู UBC ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ได้ดี นอกจากจะมีความรู้ในวิชาที่สอนดีเยี่ยมแล้ว อาจารย์ยังสามารถถ่ายทอดความรู้นี้ให้กับนักเรียนได้เต็มที่ อาจารย์คิดว่าปัจจัยอะไรทำให้ครูคนหนึ่งสามารถสอนภาษาอังกฤษได้ดีสำหรับเรื่องการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้น ครูคิดว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากเลยค่ะ เหมือนกับการปลูกพืช ก่อนอื่นเราต้องดูเนื้อดิน ก่อนว่า ดินแปลงนี้เราจะปลูกพืชลงไปนั้นเป็นดินชนิดไหน ดี หรือด้อยประการใด เช่นเดียวกับนักเรียน เวลาที่ครูสอนเด็กค่อนข้างอ่อน ก็ใช้วิธีหนึ่ง และถ้าสอนนักเรียนที่เก่งแล้ว ก็จะใช้อีกวิธีหนึ่ง มิเช่นนั้นแล้ว การเรียนการสอนจะน่าเบื่อมากๆ ถ้าครูผู้สอนไม่ปรับวิธีการสอน ปัจจัยที่สองก็คือ ครูผู้สอนต้องมีความรู้ในวิชาที่ตัวเองสอนอย่างแม่นยำและถูกต้อง มิฉะนั้นจะทำให้นักเรียนหมดศรัทธาในตัวครูผู้สอนได้ ดังนั้น ครูจึงเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ก่อนเข้าสอนและดูข่าว อ่านหนังสือพิมพ์ ทุกเช้า เพื่อสามารถโยงเรื่องต่างๆ เข้าสู่บทเรียน เพื่อทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และนักเรียนจะได้คำศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ปัจจัยต่อมาก็คือ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามได้เต็มที่ ถ้าเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ ครูก็จะบอกกับนักเรียนตรงๆ ว่าครูไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจ แต่ครูจะไปค้นหาคำตอบมาให้ทีหลัง โดยไม่ต้องกลัวเสียหน้า เพราะถ้าครูคนไหนตอบผิดๆ ไปจะเกิดผลเสียมากกว่า ผลดีค่ะ สำหรับตัวครูเอง จะบอกกับนักเรียนเสมอ ครูไม่ใช่เจ้าของภาษา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะต้องรู้ทุกเรื่อง การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษมากๆ จะช่วยได้มากเลยค่ะ ในการหาความรู้แล้วนำมาถ่ายทอดอีกทีหนึ่ง และประการสุดท้ายที่ครูคิดว่าสำคัญมากในการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ดีก็คือ พยายามทำให้นักเรียนสนุกในการเรียนและทำให้นักเรียนเห็นว่าเมื่อเรียนไปแล้ว เขาสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ซึ่งบางครั้งครูก็อาจจะต้องทำตัวเป็น Entertainer เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนค่ะ การสอนที่โดดเด่นมากของอาจารย์คือ การให้ Input อาจารย์ให้ศัพท์เยอะมากและสอนทั้งความหมาย ไวยากรณ์และการใช้ ในความเห็นของอาจารย์ ศัพท์มีความสำคัญในการเรียนอย่างไรคะ และ อาจารย์แนะนำว่าควรสอนศัพท์อย่างไรในเรื่องการสอนคำศัพท์ และไวยากรณ์ให้กับนักเรียนนั้น ครูคิดว่า นักเรียนส่วนใหญ่มักจะเรียนไวยากรณ์ โดยการท่องจำ โดยไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องใช้รูปประโยคแบบนั้น ซึ่งพอถึงเวลาจะต้องนำไปใช้จริงๆ ก็ไม่สามารถเขียนประโยคที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ทุกครั้งที่ครูสอนไวยากรณ์ให้นักเรียนแล้ว ครูจะทำ Quiz สั้นๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียนเสมอ ถ้าพบว่า นักเรียนคนไหนยังไม่เข้าใจก็จะเรียกมาอธิบายซ้ำอีกครั้ง หรือจนกว่าจะเข้าใจ สำหรับครูเอง คิดว่า ตัวเราเรียนอะไรด้วยความเข้าใจแล้ว เราจะจำได้จนวันตาย แต่การท่องจำ เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เราก็จะลืมได้ นอกจากนี้เวลาสอนไวยากรณ์ ครูก็จะพยายามยกตัวอย่างจากเรื่องที่ใกล้ตัว หรือเรื่องนักเรียนสนใจ เพื่อทำให้ตัวอย่างนั้นๆ อยู่ในความทรงจำของนักเรียน สำหรับการสอนคำศัพท์นั้น ก็สำคัญ พอๆ กับการสอนไวยากรณ์
โดยเฉพาะ นักเรียนไทยจะมีปัญหาเรื่องคำศัพท์มากๆ เวลาอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนอื่น ครูจะพยายามแตกศัพท์ให้นักเรียนมากๆ เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ของคำ และรู้จัก root word แล้วสามารถแตกศัพท์ โดยการเติม prefix หรือ suffix ก็จะทำให้นักเรียนได้รู้จักศัพท์มากขึ้น ต่อมาก็คือ พยายามให้นักเรียนรู้จักเดาความหมายของคำศัพท์จาก Context ดังนั้น เวลาครูสอนก็จะสอนจาก Context ไม่ใช่สอนเป็นคำๆ โดดๆ เพราะนักเรียนจะจำไม่ได้ และถ้าสามารถเล่าที่มาที่ไปของคำศัพท์นั้นๆ ได้จะยิ่งทำให้นักเรียนสามารถจำคำศัพท์นั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาอีกอย่างหนึ่งในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนก็คือ การแปลคำศัพท์ให้กับนักเรียน เพราะบางครั้งภาษาไทยมีคำเดียว แต่ภาษาอังกฤษมีถึง 3-4 คำ ถ้าครูผู้สอนไม่แจกแจงอย่างถูกต้อง เวลาที่นักเรียนนำไปใช้ก็จะใช้อย่างผิดๆ เช่น คำว่า “โอกาส” ภาษาอังกฤษจะมีคำว่า Chance, Opportunity, Occasion ดังนั้น ครูผู้สอนต้องเข้าใจการใช้คำศัพท์เหล่านี้ในภาษาอังกฤษได้อย่างดีก่อน แล้วจึงจะสามารถอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้กับนักเรียนได้ เพราะจากประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 26 ปี ครูพบว่า เวลาให้นักเรียนแต่งเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ นักเรียนไทยจะมีปัญหาในการเลือกหาคำศัพท์ที่ถูกต้องมาใช้ในประโยคเสมอ นอกจากนี้ เนื่องจากทุกวันนี้ เราอยู่ในโลกที่ไร้พรมแดน ทำให้คำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องใฝ่รู้ มิเช่นนั้น ก็จะตามนักเรียนไม่ทัน โดยเฉพาะ technical terms ต่างๆ สำหรับการสอนคำศัพท์ให้กับนักเรียนนั้น ถ้าจะให้ดี ครูผู้สอนควรจะให้ความหมายเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ ให้กับนักเรียนด้วย อย่าแปลเป็นภาษาไทยอย่างเดียว และถ้าจะทดสอบว่า นักเรียนเข้าใจหรือไม่ ก็ให้นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สอนไปแล้ว ไปแต่งประโยคด้วยตนเอง ก็จะทำให้เรารู้ว่า นักเรียนรู้จักหน้าที่ของคำ และความหมายของศัพท์หรือไม่ มีนักเรียนจำนวนมากที่ชอบนำคำคุณศัพท์ไปใช้เป็นคำกริยา เพราะเวลาแปลคำศัพท์จากภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นคำคุณศัพท์ แต่ตรงกับคำกริยาในภาษาไทย เช่น คำว่า “โกรธ” เวลานักเรียนเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือพูด ก็มักจะบอกว่า “I angry.” ซึ่งผิด ดังนั้นเราต้องอธิบายว่า angry เป็น adj. ไม่ใช่ “verb” จะต้องใช้ตามหลัง v. to be หรือ Linking Verbs เป็นต้น ครูคิดว่า ถ้านักเรียนแยกแยะหน้าที่ของคำได้ และสามารถเข้าใจความหมายของศัพท์ใน context ที่แตกต่างกันได้ ก็จะทำให้นักเรียนเรียนคำศัพท์ได้อย่างดี และใช้ได้อย่างถูกต้อง อาจารย์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนและสนทนานอกห้องเรียน ซึ่งมีส่วนทำให้นักเรียนได้รับ input มากและมีแรงจูงใจในการเรียน อาจารย์มีหลักในเรื่องสื่อในการสอนอย่างไรคะ เรื่องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนและการสนทนานอกห้องเรียนนั้น ครูคิดจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบัน เพราะโรงเรียนไทยในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถที่
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
...... การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
......ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
......ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
......ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
......ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
......ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
......3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
......2. เอกสารอ้างอิง
......1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
......2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
......3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการฟังโดยใช้สถานการณ์และกิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการฟังของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการฟังที่ดี จะนำไปสู่ทักษะการพูดที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)
............ 1. ทักษะการฟัง
............ 2. การฟังโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening)
............ 3. การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening)
............ 4. สถานการณ์ในการฟัง
............ 5. กิจกรรมในการสอนฟัง
............ 6. กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening)
............ 7. กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening)
............ 8. กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
...... การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
......ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
......ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
......ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
......ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
......ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
......3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
......2. เอกสารอ้างอิง
......1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
......2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
......3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการฟังโดยใช้สถานการณ์และกิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการฟังของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการฟังที่ดี จะนำไปสู่ทักษะการพูดที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)
............ 1. ทักษะการฟัง
............ 2. การฟังโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening)
............ 3. การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening)
............ 4. สถานการณ์ในการฟัง
............ 5. กิจกรรมในการสอนฟัง
............ 6. กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening)
............ 7. กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening)
............ 8. กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)